อภิญญาที่ 1 - อิทธิวิธิ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้)
อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่น อยู่ยงคงกระพัน ล่องหนหายตัว ย่นระยะทางได้ เหาะเหินเดินอากาศ ดำดิน เดินบนผิวน้ำ หรือเดินลงไปในน้ำได้
จาก : หนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
อภิญญาที่ ๑ อิทธิฤทธิญาณ อภิญญาที่ ๑ นี้ ผู้ประสงค์จะฝึกท่านให้เรียนกสิณ ๑๐ ให้ชำนาญจากอาจารย์ผู้สอนเสียก่อน ถามวิธีฝึกและข้อเคล็ดลับต่าง ๆ ให้เข้าใจ เมื่อขณะฝึกนั้นถ้ามีอะไรสงสัยให้รีบหารืออาจารย์ อย่าตัดสินเองเป็นอันขาด ข้อสำคัญที่สุดก็คือ เมื่อจะเรียนนั้นดูอาจารย์เสียก่อนว่าได้แล้วหรือเปล่า ถ้าอาจารย์ไม่ได้ก็จงอย่าไปขอเรียนเลย เคยเห็นพาลูกศิษย์ลูกหาไปผิดลู่ผิดทาง เลอะเทอะกันมาแล้ว เมื่อเห็นอาจารย์ได้จริงแล้วก็เรียนเถิด ท่านคงไม่พาเข้ารกเข้าป่า เมื่อทำกสิณได้ชำนาญทั้ง ๑๐ อย่างแล้ว ท่านให้พยายามเข้าฌานตามลำดับฌาน แล้วเข้าฌานตามลำดับกสิณ แล้วเข้าฌานสลับฌาน แล้วเข้าฌานสลับกสิณ ทำให้คล่องนึกจะเข้าเมื่อไรเข้าฌานได้ทันที นอนหลับพอรู้สึกตัวก็เข้าฌานได้ทันที กำลังเดิน กำลังทำงาน กำลังพูด อ่านหนังสือ ดูมหรสพ หรือในกิจต่าง ๆ ที่กำลังทำอยู่ เมื่อคิดว่าเราจะเข้าฌานละก็เข้าได้ทันที อย่างนี้เรียกว่าได้อภิญญาที่ ๑ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ตามความพอใจ
กสิณ 10
http://www.palungjit.com/smati/k40/kasin10.htm
องค์ฌานในกสิณทั้ง ๑๐ กอง
ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก มีอารมณ์จับอยู่ที่ปฏิภาคนิมิต กำหนดจิตจับภาพปฏิภาคนิมิต นั้นเป็นอารมณ์ วิจาร พิจารณาปฏิภาคนิมิตนั้น คือพิจารณาว่า รูปปฏิภาคนิมิตสวยสดงดงามคล้ายแว่นแก้วที่มีคนชำระสิ่งเปรอะเปื้อนหมดไป เหลือไว้แต่ดวงเก่าที่บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากธุลีต่างๆ
ปีติ มีประเภท ๕ คือ
๑. ขุททกาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้าและน้ำตาไหล
๒. ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ
๓. โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง คล้ายเรือที่ถูกคลื่นซัด บางท่าน
ก็นั่งโยกไปโยกมา อย่างนี้เรียก โอกกันติกาปีติ
๔. อุพเพงคาปีติ มีกายลอยขึ้นเหนือพื้น บางรายก็ลอยไปได้ไกลหลายๆ กิโลก็มี
๕. ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าซาบซ่านทั้งร่างกาย และมีอาการคล้ายกับร่างกายใหญ่ สูงขึ้นกว่าปกติ
สุข มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็น ในขณะที่พิจารณาปฏิภาคนิมิต
เอกัคคตา มีจิตเป็นอารมณ์เดียว คือมีอารมณ์จับอยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นปกติ ไม่สอดส่าย
อารมณ์ออกนอกจากปฏิภาคนิมิต ทั้ง ๕ อย่างนี้เป็นปฐมฌาน มีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่นๆ แปลกแต่กสิณนี้ มีอารมณ์ยึดนิมิตเป็นอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิต จนจิตเข้าสู่ จตุตถฌาน หรือ ปัญจมฌาน
ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ตอนนี้จะเว้นจากการภาวนาไปเอง การกำหนดพิจารณารูปกสิณจะยุติลง คงเหลือแต่ความสดชื่นด้วยอำนาจปีติ อารมณ์สงัดมาก ภาพปฏิภาคนิมิตจะสดสวยงดงามวิจิตรตระการตามากกว่าเดิม มีอารมณ์เป็นสุขประณีตกว่าเดิม อารมณ์จิตแนบสนิทเป็นสมาธิมากกว่า
ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ ตัดความสดชื่นทางกายออกเสียได้เหลือแต่ความสุขแบบเครียดๆ คือมีอารมณ์ดิ่งแห่งจิต คล้ายใครเอาเชือกมามัดไว้มิให้เคลื่อนไหว ลมหายใจอ่อนระรวยน้อยเต็มที่ ภาพนิมิตดูงามสง่าราศีละเอียดละมุนละไม มีรัศมีผ่องใสเกินกว่าที่ประสบมาอารมณ์ของจิตไม่สนใจกับอาการทางกายเลย
จตุตถฌาน ทรงไว้เพียงเอกัคคตากับอุเบกขา คือมีอารมณ์ดิ่งไม่มีอารมณ์รับความสุข และความทุกข์ใดๆ ไม่รู้สึกในเวทนาทั้งสิ้น มีอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ทั้งมวลมีจิตสว่างโพลง คล้ายใครเอาประทีปที่สว่างมากหลายๆ ดวงมาตั้งไว้ในที่ใกล้ ไม่มีอารมณ์รับแม้แต่ เสียงลมหายใจ สงัด รูปกสิณเห็นชัดคล้ายดาวประกายพรึก ฌานที่ ๔ เป็นฌานสำคัญชั้นยอด ควรกำหนดรู้แบบง่ายๆ ไว้ว่า เมื่อมีอารมณ์จิตถึงฌาน ๔ จะไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ควรกำหนดไว้ง่ายๆ แบบนี้สะดวกดี ท่านทำได้ถึงระดับนี้ ก็ชื่อว่าจบกิจในกสิณ ไม่ว่ากองใดก็ตาม จุดจบของกสิณต้องถึงฌาน ๔ และนิมิตอะไรต่ออะไรตามอำนาจกสิณ ถ้าทำไม่ถึงกับนิมิตได้ตามอำนาจกสิณก็เป็นเสมือนท่าน ยังไม่ได้กสิณเลย
อานุภาพกสิณ ๑๐
กสิณ ๑๐ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติในกสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตุตถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณกองนั้น ๆ มีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน ๔ แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่าง ๆ ตามแบบ ท่านว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าถึงกสิณ อำนาจฤทธิ์ในกสิณต่างๆ มีดังนี้
ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น นิรมิตคน ๆ เดียวให้เป็นคนมากได้ ให้คนมากเป็นคน ๆ เดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้
อาโปกสิณ สามารถนิรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่น อธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ฝนแล้งให้เกิดฝน อย่างนี้เป็นต้น
เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่าง ให้เกิดแก่จักษุญาณสามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนใน ทุกสถานที่ได้
วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้ สถานที่ใดไม่มีลม อธิษฐานให้มีลมได้
นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้
ปีตกสิณ สามารถนิรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้
โลหิตกสิณ สามารถนิรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์
โอทาตกสิณ สามารถนิรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้ เป็น
กรรมฐานที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักษุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ อาโลกกสิณ นิรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้ เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นที่อับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่ง มีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ความต้องการได้
วิธีอธิษฐานฤทธิ์
วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการ ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน ๔ ก่อน แล้วออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น แล้วกลับเข้าฌาน ๔ อีก ออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา
************
***Blogger Ekk เพิ่มเติมในเรื่อง อธิษฐานบารมี ประกอบกัน เพื่อฝึกฝนอุปนิสัย ใช้ให้เกิดอิทธิวิธีได้ดียิ่งขึ้น ***
จาก: หนังสือทิพยอำนาจ โดย พระอริยคุณาธาร (ปุสโส เส็ง, ป.ธ. 6)
อธิษฐานบารมี ที่จะดีเด่นได้ต้องประกอบด้วย อธิษฐานธรรมซึ่งเป็นกำลังหนุน 4 ประการ
1. สัจจะ - ความสัตย์ มีใจมั่นหมายไม่กลับกลอก
2. ทมะ - มีความสามารถบังคับจิตใจได้ดี
3. จาคะ - มีน้ำใจเสียสละอย่างแรงกล้า เมื่อรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่กว่าที่มีอยู่แล้วจะไม่รีรอเพื่อสิ่งนั้นเลย ยอมทุ่มเททุกสิ่งอย่างกระทั่งชีวิตเข้าแลก
4. ปัญญา - มีความฉลาดเฉลียว รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์-ไม่เป็นประโยชน์, ควร-ไม่ควร, เป็นได้-เป็นไม่ได้ แล้วดำรงในสัตย์อันเป็นประโยชน์ และเป็นธรรม บังคับจิตใจให้เป็นไปในอำเภอ ทุ่มเทกำลังพลังลงเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น
วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น